top of page
DSC_7785.jpg

การนั่ง (ยืน, นอน) กรรมฐาน

การนั่งกรรมฐาน

เมื่อเดินจงกรมครบกำหนดแล้วให้ต่อด้วยการนั่ง (หรือยืน, นอน) กรรมฐานที่สัมพันธ์กับระยะที่เดินจงกรมต่อไปนี้เลยทันที

การนั่ง (ยืน, นอน) กรรมฐาน

การนั่ง-01.png

การนั่งกรรมฐาน

การนั่ง-02.png

วิธีการนั่งกรรมฐาน

การนั่งกรรมฐาน ให้เอามือขวาวางไว้บนมือซ้าย ให้ปลายนิ้ว หัวแม่มือชนกัน เอาเท้าซ้ายซุกเข้าไว้ในขาขวา เอาส้นเท้าขวาจรดหน้าแข้ง เบื้องซ้าย หรือนั่งขัดสมาธิ ให้ขาขวาวางทาบบนขาซ้าย นั่งตัวตรง หายใจ ช้าๆ แล้วค่อยๆ หลับตาลง ตัดความกังวลทุกอย่างให้หมด แล้วเอาสติ มาไว้ที่ท้องเหนือสะดือ ๒ นิ้ว เวลาหายใจเข้า ท้องพองออก ให้เอาสติเพ่งพิจารณาอยู่กับอาการ พองเพียงอย่างเดียว พร้อมกับบริกรรมในใจว่า พองหนอ เวลาหายใจออก ท้องยุบ ก็ให้เอาสติเพ่งพิจารณาอยู่กับอาการยุบ เพียงอย่างเดียว พร้อมทั้งบริกรรมในใจว่า ยุบหน

การนั่ง-03.png

อาการที่ท้องพองและท้องยุบก็คือ รูป ส่วนการที่เราเอาสติคุมจิต เข้าไปรู้อาการพองยุบก็คือ นาม การเอาจิตเข้าไปรู้อาการพอง อาการยุบ ให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดปัญญา พิจารณา ได้ว่าร่างกายของเรานั้น แท้จริงมีแต่รูปกับนามเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเลย

มองเห็นพระไตรลักษณ์คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ได้ชัดเจนขึ้น เมื่อเวลานั่งไปนานๆ ก็ปวดเมื่อยเป็นทุกข์ (ทุกขัง) ก็ต้องมีการเปลี่ยน อิริยาบถ รูปนั่งก็ไม่เที่ยง (อนิจจัง) และเห็นว่า ร่างกายไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ (อนัตตา) ห้ามไม่ให้ปวด ไม่ให้เมื่อย ห้ามไม่ได้ เพราะฉะนั้น การพิจารณา รูป - นาม เป็นอารมณ์นั้น เราสามารถยกจิตขึ้นสู่ปัญญาได้ตลอดเวลา พยายามกำหนดให้ได้ปัจจุบันธรรม คือให้ทำพร้อมๆ กัน เวลาพอง ก็ให้กำหนดพองพร้อมกัน ถ้ามีอาการพองก่อน แล้วกำหนดทีหลัง ก็ไม่ได้ ปัจจุบันธรรม กลายเป็นอดีตไป หรือยังไม่มีอาการพอง แต่ไปกำหนดว่า “พองหนอ” ก็ไม่ได้ปัจจุบันธรรม กลายเป็นอนาคตไป ในขณะที่นั่งกรรมฐานอยู่นั้น ถ้ามีเวทนาเกิดขึ้น เช่น เจ็บ, ปวด, เมื่อย, คัน ก็ให้ใช้สติกำหนดอาการนั้นๆ คือ ให้ทิ้ง พอง ยุบ ก่อน แล้ว เอาสติไปเพ่งพิจารณาตรงจุดที่มีอาการเจ็บ, ปวด, เมื่อย, คัน กำหนด ในใจว่า เจ็บหนอๆๆ, ปวดหนอๆๆ, เมื่อยหนอๆๆ, หรือคันหนอๆๆ แล้วแต่ว่าจะมีเวทนาใดเกิดขึ้น เมื่อจิตรู้ชัดแล้วว่าบัดนี้ทุกขเวทนา ได้เกิดขึ้นแล้ว ให้ย้ายสติกลับมาเพ่งพิจารณาที่ท้อง กำหนด พองหนอ ยุบหนอ ต่อไป ถ้าเวลาคิดไปถึงเรื่องต่างๆ เช่น คิดถึงบ้าน, คิดถึงการงาน, คิดถึง ลูกหลาน เป็นต้น ให้เอาสติกำหนดพิจารณาว่า คิดหนอๆๆ หลังจาก หยุดคิดแล้วก็เอาสติกลับมกำหนดที่อาการพอง ยุบ ต่อไป ถ้ามีนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ คือ ชอบใจ, ไม่ชอบใจ, ง่วง, ฟุ้ง, สงสัย อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเวลากำลัง นั่งกรรมฐาน หรือเดินจงกรมก็ตาม ต้องทิ้งพอง ยุบ เสียก่อน แล้วเอา

สติเข้าไปกำหนดที่นิวรณ์นั้นๆ ว่า ชอบหนอๆๆ, ไม่ชอบหนอๆๆ, ง่วงหนอๆๆ, ฟุ้งหนอๆๆ, สงสัยหนอๆๆ แล้วแต่ว่าจะมีนิวรณ์อย่างใด เกิดขึ้น เมื่อจิตรู้เท่าทันสภาวะของนิวรณ์นั้นๆ อย่างชัดเจนแล้ว ก็ควร ละทิ้งนิวรณ์นั้นๆ เสีย แล้วเอาสติกลับมากำหนด พองหนอ ยุบหนอ ต่อไป

การนั่ง-04.png

ในลำดับต่อไป ให้เพ่งพิจารณาโดยใช้สติไปกำหนดที่ท้อง เหนือสะดือ ๒ นิ้ว เวลาหายใจเข้า ท้องพองออก ให้เอาสติเพ่งพิจารณาอยู่กับ อาการพองเพียงอย่างเดียว พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “พองหนอ” เวลาหายใจออก ท้องยุบ ให้เอาสติเพ่งพิจารณาอยู่กับอาการยุบ เพียงอย่างเดียว พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “ยุบหนอ” หลังจากนั้น ให้กำหนดสติไปที่ท่านั่ง พิจารณาดูรูปนั่งให้ชัดเจน โดยผู้ปฏิบัติพึงระลึกว่าตนเองกำลังนั่งอยู่ มิได้อยู่ในอิริยาบถอื่น พร้อมทั้ง กำหนดว่า นั่งหนอ โดยไม่ต้องไปใส่ใจกับอาการพอง-ยุบ หรือ ลมหายใจ เข้า-ออก จะหายใจเข้า – ออกกี่ครั้งก็ได้

กำหนด “พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ” เวียนกันไปเช่นนี้ ตลอดเวลาที่นั่งสมาธิ แล้วเปลี่ยนอิริยาบถเป็นเดินจงกรมในเวลาที่เท่ากัน สลับกันไป

การนั่ง-05.png

วิธีการกำหนดเวลานั่งสมาธิ ให้กำหนดไปตามลำดับขั้นดังต่อไปนี้

๑. หายใจเข้า ท้องพอง เอาสติไปกำหนดที่ท้องว่า “พองหนอ”

๒. หายใจออก ท้องยุบ เอาสติไปกำหนดที่ท้องว่า “ยุบหนอ”

๓. เอาสติพิจารณาดูรูปนั่งให้ชัดเจน กำหนดว่า “นั่งหนอ”

๔. เอาสติไปเพ่งพิจารณาที่บริเวณ สะโพกขวา โดยนึกภาพกำหนด ลักษณะและขนาดของจุดที่กำลังเพ่งพิจารณานั้นให้เป็นวงกลม มีขนาดเท่ากับเหรียญสิบบาท พร้อมทั้งกำหนดในใจว่า “ถูกหนอ”

๕. หายใจเข้า ท้องพอง กำหนดว่า “พองหนอ”

๖. หายใจออก ท้องยุบ กำหนดว่า “ยุบหนอ”

๗. พิจารณาดูรูปนั่ง กำหนดว่า “นั่งหนอ”

๘. เอาสติไปเพ่งพิจารณาที่บริเวณ สะโพกซ้าย กำหนดว่า “ถูกหนอ” ให้กำหนดตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๘ แล้วเวียนกลับไปข้อ ๑ ถึง ๘ ใหม่ เวียนกันไปเช่นนี้ตลอดเวลาที่นั่งกรรมฐาน แล้วเปลี่ยนอิริยาบถเป็น เดินจงกรมในเวลาที่เท่ากัน สลับกันไป

การนั่ง-06.png
การนั่ง-07.png

๙. หายใจเข้า ท้องพอง กำหนดว่า “พองหนอ”

๑๐. หายใจออก ท้องยุบ กำหนดว่า “ยุบหนอ”

๑๑. พิจารณาดูรูปนั่ง กำหนดว่า “นั่งหนอ”

๑๒. เอาสติไปเพ่งพิจารณาที่ ก้นย้อยขวา กำหนดว่า “ถูกหนอ”

๑๓. หายใจเข้า ท้องพอง กำหนดว่า “พองหนอ”

๑๔. หายใจออก ท้องยุบ กำหนดว่า “ยุบหนอ”

๑๕. พิจารณาดูรูปนั่ง กำหนดว่า “นั่งหนอ”

๑๖. เอาสติไปเพ่งพิจารณาที่ ก้นย้อยซ้าย กำหนดว่า “ถูกหนอ”

๑๗. หายใจเข้า ท้องพอง กำหนดว่า “พองหนอ”

๑๘. หายใจออก ท้องยุบ กำหนดว่า “ยุบหนอ”

๑๙. พิจารณาดูรูปนั่ง กำหนดว่า “นั่งหนอ”

๒๐. เอาสติไปเพ่งพิจารณาที่ เข่าพับขวา กำหนดว่า “ถูกหนอ”

๒๑. หายใจเข้า ท้องพอง กำหนดว่า “พองหนอ”

๒๒. หายใจออก ท้องยุบ กำหนดว่า “ยุบหนอ”

๒๓. พิจารณาดูรูปนั่ง กำหนดว่า “นั่งหนอ”

๒๔. เอาสติไปเพ่งพิจารณาที่ เข่าพับซ้าย กำหนดว่า “ถูกหนอ” ให้กำหนดตั้งแต่ ข้อ ๑ ถึง ๒๔ แล้วเวียนกลับไป ข้อ ๑ ถึง ๒๔ ใหม่จนครบเวลาปฏิบัติ

การนั่ง-08.png

กำหนดจุดต่างๆ เรียงไปตามลำดับตั้งแต่ข้อ ๑ ถึง ๒๔ และกำหนด เพิ่มเติมดังต่อไปนี้

๒๕. หายใจเข้า ท้องพอง กำหนดว่า “พองหนอ”

๒๖. หายใจออก ท้องยุบ กำหนดว่า “ยุบหนอ”

๒๗. พิจารณาดูรูปนั่ง กำหนดว่า “นั่งหนอ”

๒๘. เอาสติไปเพ่งพิจารณาที่ ตาตุ่มนอกขวา กำหนดว่า “ถูกหนอ”

๒๙. หายใจเข้า ท้องพอง กำหนดว่า “พองหนอ”

๓๐. หายใจออก ท้องยุบ กำหนดว่า “ยุบหนอ”

๓๑. พิจารณาดูรูปนั่ง กำหนดว่า “นั่งหนอ”

๓๒. เอาสติไปเพ่งพิจารณาที่ ตาตุ่มนอกซ้าย กำหนดว่า “ถูกหนอ”

ให้กำหนดตั้งแต่ข้อ ๑ ถึง ๓๒ แล้วเวียนกลับไป ๑ ถึง ๓๒ ใหม่ จนครบเวลาปฏิบัติ

การนั่ง-09.png
การนั่ง-10.png
การนั่ง-11.png
bottom of page