วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย
โดยมี พระนางอะตะปาเทวีพระมเหสีรับบัญชาเป็นผู้ดำเนินการสร้าง
ต่อมาหลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระออกธุดงควัตรมาพบ
วัดร่ำเปิง ซึ่งในเวลานั้นเป็นวัดร้าง จึงดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์และจัดการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา
พระเจ้ายอดเชียงราย
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ปัจจุบันสอนวิปัสสนากรรมฐาน
ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ในมหาสติปัฏฐานสูตร
ตั้งแต่ 2516 โดยพระธรรมมังคลาจารย์
(พระอาจารย์ ทอง สิริมงฺคโล) จนถึงปี 2534
ท่านได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราชให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
พระสมุห์สุพันธ์ อาจิณฺณสีโล ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาส วัดราษฎร์ชั้นโท (วิ) ที่พระครูภาวนาวิรัช เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
รูปปัจจุบันผู้เป็นศิษย์ได้สืบทอดเจตนารมณ์และสืบสานงานวิปัสสนากรรมฐานมาจนถึงปัจจุบัน พัฒนา
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ให้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่ว ไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศว่าเป็นสำนักอบรมวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
531 ปี
30 มีนาคม 2566
วัดร่ำเปิงในปัจจุบัน
สอนวิปัสสนากรรมฐานทางภาคเหนือ อบรมพระกรรมฐานในแนวสติปัฎฐาน ๔ ปัจจุบันมีชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้ารับการอบรมปฏิบัติต่อเนื่องกันตลอดปีไม่ขาดสายเป็นวัดแห่งแรกที่มีพระไตรปิฏกฉบับล้านนา และได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีพระไตรปิฏกฉบับภาษาต่าง ๆ มากที่สุดในโลก ถึง 19 ภาษา และในปัจจุบันได้รับคัดเลือกให้เป็น
-
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติฯ ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2542
-
อุทยานการศึกษาในวัด พ.ศ. 2544
-
สำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 ปี พ.ศ. 2547
-
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ 83 พรรษา ปี พ.ศ.2553
-
วัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ. 2553
นอกจากงานวิปัสสนากรรมฐานแล้ว วัดร่ำเปิง(ตโปทาราม) ยังเป็นสำนักพระอภิธรรมสาขาของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตาราม และยังเป็นวัดที่รวบรวมและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาล้านนา
ศาสนวัตถุสำคัญ
ปูชนียวัตถุ
1. พระบรมธาตุเจดีย์ 2. พระพุทธอะตะปะมหามุนีปฏิมากร 3. พระพุทธรูปหลวงพ่อศรีอโยธยา 4. พระประธานหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปางปฐมเทศนา 5. พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา 6. พระพุทธรูปหินทรายเขียวปางนาคปรก 7. พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐาน 8.พระพุทธรูปพระประธานในอาคาร ๘๐ ปี พระราชพรหมาจารย์ 9. พระพุทธรูปหินหยกเขียวทรงเครื่อง 10. รูปเหมือนพระสิวลี 11.รูปเหมือนพระครูบาศรีวิชัย 12.รูปเหมือนพระเจ้ายอดเชียงราย และพระนางอะตะปาเทวี
พระบรมธาตุเจดีย์
รูปเหมือนพระสิวลี
พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา
พระพุทธอะตะปะมหามุนีปฏิมากร
ศิลาฝักขาม
รูปหล่อเหมือหลวงปู่ทอง
พระพุทธรูปหินหยกเขียวทรงเครื่อง
รูปเหมือนพระครูบาศรีวิชัย
พระสิงห์
พระเจ้ายอดเชียงราย
พระพุทธรูปหินทรายปางปฐมเทศนา
พระนางอะตะปาเทวี
สำนักงานติดต่อปฏิบัติธรรม
พระราชกรณียะกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
ในการเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มายังวัดร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อทอดพระเนตรต้นฉบับพระไตรปิฏกภาษาล้านนา และประกอบพิธียกฉัตรประดิษฐานยอดเจดีย์วัดร่ำเปิง
โดยมี พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล(ทอง สิริมงฺคโล) ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนามพระธรรมมังคลาจารย์ วิ. เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิงในขณะนั้น พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ พ่อค้าประชาชนชาวเชียงใหม่เฝ้ารับเสด็จ